20204-2105 โปรแกรมฐานข้อมูล

ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล

qjq2tnw

รหัสเข้า E-Learning (Google) สำหรับส่งงานและติดตามงานในรายวิชา

นักศึกษาจะต้องเข้าร่วมทีมเพื่อ ติดตาม/ส่งงาน ด้วยตัวนักศึกษาเอง

ข้อมูล

จัดเก็บ

ใช้งาน

อิเล็กทรอนิกส์

สมรรถนะ

  1. แสดงความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล ชนิดและลักษณะของฐานข้อมูล

  2. ปฏิบัติการออกแบบ สร้าง และแก้ไขระบบฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล

นักศึกษาต้องทำได้

เพื่อผ่านการประเมินวิชานี้

คอมพิวเตอร์: การจัดเก็บข้อมูล

การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ จะจัดเก็บในระบบดิจิทัล (Digital) จะแทนความหมายของข้อมูลในรูปแบบของตัวเลขฐานสอง ประกอบด้วยด้วยสัญญลักษณ์คณิตศาสตร์ 0 และ 1 (ฐาน 2: มีสองจำนวน) เรียกว่า บิต (bit)

ตัวอย่าง

0 = เลขศูนย์ หรือ สถานะปิด

1 = เลขหนึ่ง หรือ สถานะเปิด

ตัวอย่าง

0110 0001 = ตัวอักษร a

0100 0001 = ตัวอักษร A

0110 0010 = ตัวอักษร b

0110 0011 = ตัวอักษร c

ถ้าต้องการเก็บจำนวนของข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษรที่มากกว่า 2 ค่า (ใช้พื้นที่ 1 หลัก=1 bit) จะต้องใช้หลักการเพิ่มข้อมูล (bit-บิต) หน่วยข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบันเรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่ง 1 byte เท่ากับ 8 bits

คอมพิวเตอร์: การจัดเก็บข้อมูล (ต่อ)

การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเฉพาะของแอพพลิเคชั่น (Application Data Storage) โปรแกรมเมอร์ที่พัฒนาแอพฯ เพื่อใช้งานในวัตถุประสงค์เฉพาะ มักพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเฉพาะ

ตัวอย่าง

Field = การนําข้อมูลหลายไบต์มารวมกันเพื่อใช้แทนการจัดเก็บข้อมูลสิ่งใดส่งิหนึ่ง เช่น ชื่อ, นามสกุล, เพศ, ส่วนสูง, น้ำหนัก ฯลฯ

ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมฐานข้อมูล MS-Access มีการจัดเก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น ฟิลด์ (Field), เรคอร์ด (Record), หรือ ไฟล์ (File) การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเฉพาะเหล่านี้ ล้วนมีพื้นฐานอยู่บนการจัดเก็บข้อมูลของระบบดิจิทัล

ตัวอย่าง

Record = ข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อมูลหลาย Field มารวมกัน เพื่อสื่อความหมายในการจัดเก็บข้อมูล 1 ชุด หรือ 1 ระเบียน

การจัดเก็บข้อมูลในระบบ ไฟล์

ผู้ริเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ มักใช้วิธีการเก็บข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน (ระบบดิจิทัล) ด้วยโปรแกรมพื้นฐาน เช่น MS-Word, MS-Excel, Notepad, และ ฯลฯ ซึ่งมีข้อเสียหลายอย่าง

  • ความปลอดภัย (Security)

  • การอัปเดตข้อมูล (Collaboration)

  • การนำข้อมูลไปใช้งานและความยืดหยุ่น (Flexibility)

ผู้ใช้ 1

ผู้ใช้ 2

ผู้ใช้ 3

กลุ่มผู้ใช้อื่น

ระบบจัดเก็บข้อมูลกลาง

ผู้ใช้ 1

ผู้ใช้ 2

ผู้ใช้ 3

กลุ่มผู้ใช้อื่น

ระบบจัดเก็บข้อมูลกลาง

ผู้ใช้งาน

ซอฟ์ทแวร์ DBMS

ฮาร์ดแวร์

ฐานข้อมูล

การจัดเก็บข้อมูลในระบบ ฐานข้อมูล

ประโยชน์ของฐานข้อมูล

  1. ลดปัญหาการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน (Reduce Redundancy)

  2. ลดปัญหาความขัดแย้งหรือข้อมูลไม่ตรงกัน (Reduce Inconsistence)

  3. มีความเป็นอิสระระหว่างโปรแกรมและข้อมูล ทำให้สามารถใช้โปรแกรมต่าง ๆ มาใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลได้ โดยไม่ผูกติดกับโปรแกรมโปรแกรมหนึ่ง

  4. ลดปัญหาการปรับปรุงโครงสร้างข้อมูลที่จะทำข้อมูลเสียหาย

  5. มีความน่าเชื่อถือ โดยมีระบบป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้ามา

  6. ข้อมูลมีความเป็นมาตรฐาน สามารถถ่ายโอนแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

  7. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยกำหนดสิทธิในการจัดการสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่ม ให้แตกต่างกันได้

ชนิดของฐานข้อมูล

  1. แบบลำดับชั้น (Hierarchical Data Model) เป็นการจัดเก็บในลักษณะลำดับชั้น

  2. แบบจำลองเครือข่าย (Network Data Model)

  3. แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model)

  4. แบบจำลองเชิงวัตถุ (Object Oriented Data Model)

1

2

4

3

ปัจจุบัน

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational DB)

ตาราง นักศึกษา

ตาราง ครู-อาจารย์

ตาราง แผนกวิชา

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational DB)

ตาราง ครู-อาจารย์

มี 4 แอททริบิวต์

แอททริบิวต์ อาจเรียกชื่ออื่นได้ว่า

  • ฟิลด์ (Field)

  • เขตข้อมูล

  • คอลัมน์

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational DB)

รหัสครู-อาจารย์ ชื่อครู-อาจารย์ โทรศัพท์ แผนกวิชา
L01 กฤษณ์ ทิวาวรรณวงศ์ 088-9XX-X222 คอมพิวเตอร์
L02 สรรค์พงษ์ วรศิลป์ 086-6XX-X111 แกนธุรกิจ

แถวข้อมูล 1

ตาราง/รีเลชั่น ครู-อาจารย์

มี 2 แถวข้อมูล

แถวข้อมูล อาจเรียกชื่ออื่นได้ว่า

  • เรคอร์ด (Record)

  • ทูเพิล (Tuple)

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational DB)

สรุปคำศัพท์

1 ตารางข้อมูล / รีเลชั่น

แอททริบิวต์

หรือ ฟิลด์

เรคอร์ด

หรือ ทูเพิล

ถาม - ตอบ

คำถามท้ายบทเรียน

  1. บอกชื่อคําศัพท์ของหน่วยจัดเก็บข้อมูลต่อไปนี้

    • บิต (Bit) คือ  

    • ไบต์ (Byte) คือ  

    • ฟิลด์ (Field) คือ

    • เรคอร์ด (Record) คือ

  2. บอกประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล มา 3 ข้อ

ถาม - ตอบ

คำถามท้ายบทเรียน

  1. ใส่ชื่อแบบจําลองฐานข้อมูลจากลักษณะการจัดเก็บข้อมูล

    • ข้อมูลลูกต้องเกิดจากข้อมูลหลักเพียงตัวเดียวคือ

    • ข้อมูลลูกสามารถเกิดจากข้อมูลหลักหลายตัวได้คือ

    • ข้อมูลจัดเก็บเป็นตารางที่สัมพันธ์กันคือ

    • ข้อมูลและการดําเนินการข้อมูลจัดเก็บไว้ร่วมกันคือ

  2. จงบอกคุณสมบัติของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์มา 3 ข้อ

ถาม - ตอบ

คำถามท้ายบทเรียน

  1. จงบอกความหมายของ ศัพท์ต่อไปนี้

    • รีเลชันทูเพิล (Relation) คือ

    • ทูเพิล (Tuple) คือ

    • แอททริบิวต์ (Attribute) คือ

    • คีย์หลัก (Primary Key) คือ

Aj. Krit Th.

https://www.kritth.com

20230711 DB Data Dictionary

By Krit Th.

20230711 DB Data Dictionary

  • 87