การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

พื้นฐาน Python และการใช้งานเบื้องต้น

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในสัปดาห์นี้

เพื่อให้ . .

  1. เข้าใจการสร้างตัวแปรและประเภทข้อมูลพื้นฐานใน Python

  2. สามารถใช้ตัวดำเนินการพื้นฐาน เช่น +, -, *, /

  3. สามารถแสดงผลข้อมูลผ่านฟังก์ชัน print()

ตัวแปรและประเภทข้อมูลใน Python​

ประเภทข้อมูลที่สำคัญ:

  1. String (ข้อความ): เช่น "Hello"

  2. Integer (จำนวนเต็ม): เช่น 10

  3. Float (จำนวนทศนิยม): เช่น 3.14

ตัวแปรคือที่เก็บข้อมูลในโปรแกรม โดยสามารถประกาศได้โดยการใช้ชื่อและค่า

ตัวแปร

Hello

10

3.14

ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operators)

ตัวดำเนินการพื้นฐานใน Python:

  1. + : การบวก

  2. - : การลบ

  3. * : การคูณ

  4. / : การหาร

x = 10
y = 5
sum_result = x + y
diff_result = x - y
print("ผลบวก:", sum_result)
print("ผลลบ:", diff_result)

การแสดงผลข้อมูลด้วยฟังก์ชัน print()

คำสั่ง print() ใช้เพื่อแสดงข้อมูลในหน้าจอ

  1. สามารถแสดงข้อมูลตัวแปรหรือข้อความได้

  2. ใช้การเชื่อมข้อความและตัวแปรเพื่อแสดงผลพร้อมกัน

name = "สมชาย"
age = 18
print("ชื่อ:", name, "| อายุ:", age, "ปี")

Workshop 1

ให้นักศึกษาสร้างตัวแปร:

  1. ชื่อ (string), อายุ (integer), และความสูง (float)

  2. จากนั้นแสดงผลข้อมูลเหล่านั้นโดยใช้คำสั่ง print()

  3. ฝึกใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ เช่น การคำนวณอายุตัวเองในอีก 5 ปี

Workshop 2

คำนวณเงินทอน: นักเรียนซื้อขนมราคา 35 บาทและจ่ายเงินไป 50 บาท จงคำนวณเงินทอนที่ต้องได้รับ

Workshop 3

อัตราเฉลี่ยการอ่านหนังสือ: นักเรียนอ่านหนังสือ 120 หน้าในเวลา 3 ชั่วโมง จงคำนวณอัตราเฉลี่ยการอ่านหนังสือต่อชั่วโมง

Workshop 4

การคำนวณระยะเวลาครบอายุ: ถ้านักเรียนต้องการบรรลุนิติภาวะตอนอายุ 20 ปี ปัจจุบันนักเรียนอายุ 16 ปี จงคำนวณอีกกี่ปีนักเรียนจะครบอายุ 20 ปี

Workshop 5

การคำนวณจำนวนขนมที่ซื้อได้: ถ้านักเรียนมีเงิน 120 บาท และขนมแต่ละชิ้นมีราคา 15 บาท จงคำนวณว่านักเรียนสามารถซื้อขนมได้ทั้งหมดกี่ชิ้น และจะเหลือเงินเท่าไร

Assignment 1

  • ดาวน์โหลดโจทย์จาก E-Learning

  • ฝึกเขียนโค้ดทั้งหมด 20 ข้อ

  • ให้ถ่ายรูป และนำส่งที่ E-Learning

© Aj. Krit Th.

https://www.kritth.com